Thai Version / Eng Version
e-newsletter / สิงหาคม 2557

12 สิงหา มหาราชินี
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะกรรมการมูลนิธิและเจ้าหน้าที่
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

highlight

main exhibition 789

นิทรรศการศิลปะ “มนต์เสน่ห์ไทย: มรดก + พลังสร้างสรรค์”
จัดโดย กรมศิลปากร, สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
29 สิงหาคม - 16 พฤศจิกายน 2557
ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 8

นิทรรศการศิลปะ “มนต์เสน่ห์ไทย: มรดก + พลังสร้างสรรค์” เป็นนิทรรศการที่นำเสนอพลังการรังสรรค์งานของช่างฝีมือและศิลปินชาวไทยที่ได้รับ
แรงบันดาลใจจากโบราณวัตถุโดยการสร้างสรรค์ต่อยอด เพื่อสืบสานมรดกของชาติ โครงการศิลปะครั้งนี้ได้รับการพัฒนาจากนิทรรศการศิลปะ
“ไทย
ไหลนิ่ง” ที่ Singapore Art Museum ในปี 2555 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Thai Cultural Fest จัดโดย the National Heritage Board, Singapore
ร่วมกับ กรมศิลปากร และ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย นิทรรศการศิลปะ ไทยไหลนิ่ง ประกอบด้วย ความหลาก
หลายของการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงถึงรากเหง้าและความร่วมสมัย รวมไปถึงศิลปะที่เกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนาในทางที่มีความหมายสำคัญ

ภัณฑารักษ์: ศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์
ผู้ช่วยภัณฑารักษ์: ราเมศ ลิ่มสกุล

ศิลปิน: ถวัลย์ ดัชนี, ปัญญา วิจินธนสาร, ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวานิช, อารยา ราษฎร์จำเริญสุข, พิเชษฐ์ กลั่นชื่น, คามิน เลิศชัยประเสริฐ, สาครินทร์ เครืออ่อน,
ดาว วาสิกศิริ, อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ, ยุรี เกนสาคู, จักกาย ศิริบุตร, บุษราพร ทองชัย, สิโรจน์ พวงบุปผา, นพวงษ์ เบ้าทอง, ปานพรรณ ยอดมณี,
พิเชษฐ์ เขียวประเสริฐ, ประเสริฐ ยอดแก้ว, รัธวลี ชาญชวลิต

main exhibition 789

นิทรรศการ MD3 Fragility and Monumentality
จัดโดย แอนดรูว์ สโตล
ร่วมกับฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สนับสนุนโดย บริติช เคานซิล; UCL Development and Alumni
Relations Office; UCL Slade School of Fine Art; Bangkok University
School of Fine And Applied Arts; Chulalongkorn University
International Programme in Communication Design (CommDe)
27 มิถุนายน - 24 สิงหาคม 2557
ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9

นิทรรศการ Monologue Dialogue 3 ได้ดำเนินงานการแลกเปลี่ยนพูดคุยครั้งสำคัญนี้มาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้วในไทยด้วยการสนับสนุนจากบริติช เคานซิล ทำให้เกิดกลุ่มศิลปินอังกฤษ
และไทยทั้งในกรุงเทพและลอนดอนมาจัดงานนิทรรศการนี้ขึ้น พวกเขาได้เข้าร่วมนิทรรศการซึ่งจัดขึ้นมา
เป็นครั้งที่สามหลังจากนั้นก็ค่อย ๆพัฒนาและรวบรวมศิลปินหน้าใหม่ๆที่สนใจการแลกเปลี่ยนพูดคุย
หลากหลายที่มีความเป็นสากลและยากที่จะคาดเดา ‘ความเปราะบางและยิ่งใหญ่’ คือคำสำคัญ
ในนิทรรศการครั้งนี้ซึ่งไม่ได้มีจุดหมายเพื่ออธิบายภาพของอะไรออกมาและก็ไม่ได้อธิบายถึงทฤษฎี
หรือแนวความคิดไหนแต่ทว่าเป็นการรวบรวมบทกวีเพื่อความไม่แน่นอนจะปรากฏตัวขึ้นในบางครั้งศิลปิน
กลุ่มนี้จะมีปฏิสัมพันธ์กับงานแสดงครั้งนี้โดยคิดค้นประกอบระบายสีและสร้างมันขึ้นมาซึ่งเราคาดหวังได้
ถึงการพูดคุยที่มีชีวิตชีวาและน่าตื่นเต้นหรือแม้กระทั่งล้มเหลว แต่ความล้มเหลวและความว่างเปล่าก็เป็น
คำสำคัญในศิลปะที่ควรถูกรวบรวม เอาไว้ เพื่อทำให้เกิดพื้นที่สำหรับความเปราะบางและจินตนาการ
ที่คาดไม่ถึงขึ้นมาได้ และความยิ่งใหญ่นั้นจะสัมพันธ์กับการปรากฏตัวขึ้นที่สามารถเชื่อมโยงได้ถึงแม้
กับการดำรงอยู่ที่แม้ดูไม่ลงตัว

ภัณฑารักษ์: แอนดรูว์ สโตล

ศิลปิน: แอนดรูว์ สโตล/ อะซูโกะ นากามูระ/ บีเถกิง พัฒโนภาษ/ อีริก เบนบริดจ์/ เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์/
ปัญญา วิจินธนสาร/ มิแรนดา ฮูสเด็น/ นาธาเนียล แร็กโคเวะ/ เนลล์ เจฟฟรีส์/ นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์/
ตินติน คูเปอร์/ ทักษิณา พิพิธกุล

main exhibition 789

Experimental Video Art Exhibition, Thai-European Friendship 2004-2014 (EVA project) (ขยายเวลาจัดแสดง)
โดย ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ร่วมกับ อาจารย์คมสัน หนูเขียว
18 กรกฎาคม 2557 - 21 กันยายน 2557
ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7

ภัณฑารักษ์ :
คมสัน หนูเขียว
พาสเคาร์ เฟนเดริก
ซาบีน่า มาร์ทะ

เพื่อเผยแพร่ลักษณะงานในแนววีดีโอ อาร์ต (Video Art) ในประเทศไทยโดยใช้เทคโนโลยีทางด้าน
วิศวกรรมการคำนวณทางคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณในการสร้างสรรค์ผลงานออกมา ซึ่งกลุ่มสร้างสรรค์
ผลงานศิลปะในประเทศไทยมีน้อยในด้านนี้ การแสดงงานศิลปะวีดีโอ อาร์ตในครั้งนี้นั้น นับเป็นครั้งที่10
(2004-2014) ด้วยความตั้งใจของโครงการในการเผยแพร่ ลักษณะงานในแนววีดีโอ อาร์ตในประเทศไทย
โดยการจัดแสดงในสถานที่ อุดมศึกษาทั้ง 9 สถาบัน เพื่อมุ่งหวังถึงเหล่านิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ
ได้เข้าใจ และยังได้ เผยแพร่ต่อผู้อื่น ทั้งผู้ที่เรียนศิลปะโดยตรงและผู้ที่เกี่ยวข้อง การแสดงนิทรรศการครั้งนี้
ยังได้เชิญชวนศิลปินชาวยุโรป อาทิ เช่น ศิลปินจากออสเตรีย เยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ซึ่งตัว
งานศิลปะของศิลปินเหล่านั้นได้ชี้ให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศอันเป็นการ
ร่วมงานระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศ และต่างประเทศจากยุโรป อาทิ Academy of Fine Arts,
Vienna, Austria, Academy of Media Arts,Colonge,Germany สาระและจุดประสงค์ของนิทรรศการนั้น
มีความสอดคล้องกับนโยบายการศึกษาและวิชาการของประเทศไทยที่ต้องการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ
เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ให้กว้างขวาง มิใช่เฉพาะนิสิตนักศึกษาเท่านั้น แต่รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปด้วย

อนึ่ง จากความร่วมมือระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างชาติได้ประสบความสำเร็จด้วยดี ก็จะเป็นก้าวหนึ่งที่
ไปสู่ความร่วมมือในระดับชาติมากขึ้น ไม่เฉพาะระหว่างสถาบันการศึกษาในประเทศทั้ง 9 สถาบัน แต่เพิ่ม
การแสดง
ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครซึ่งการแสดงในครั้งนี้นั้นถือว่าเป็นการร่วมมือกัน
มากขึ้นในลำดับต่อไป

นิทรรศการดำเนินงานโดย
ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ร่วมกับ อาจารย์คมสัน หนูเขียว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
939 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 02 214 6630 – 8
โทรสาร  02 214 6639
www.bacc.or.th
baccpage

bacc exhibition activity

EXHIBITION EDUCATION AND ACTIVITY: นิทรรศการ EVA (Experimental Video Art)
กิจกรรมพิเศษ Artist Select
โดยศิลปิน ณัฐณรัณ บัวลอย
ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7

ฝ่ายนิทรรศการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครร่วมกับศิลปิน ณัฐณรัณ บัวลอย ขอเชิญชมผลงานวีดีโออาร์ตและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากศิลปินในนิทรรศการ Experimental Video Art

รอบฉายผลงานวีดีโออาร์ต
Video Narrative ฉายวันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00 – 16.00 น.
Conceptual Art ฉายวันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00 – 16.00 น.
Video Documentary ฉายวันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00 – 16.00 น.
Video Installation ฉายวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00 – 16.00 น.
Video Performance ฉายวันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2557 เวลา 14.00 – 16.00 น.
Video Animation ฉายวันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2557 เวลา 14.00 – 16.00 น.

** หมายเหตุ
การฉายผลงานวีดีโออาร์ตแบ่งเป็น 6 หมวดหมู่ตามลักษณะที่ภัณฑรักษ์แบ่งในนิทรรศการ

ในช่วงปี ค.ศ. 1980 การพัฒนาเทคโนโลยีได้เพิ่มโอกาสในการให้ความหมายใหม่ๆของการแสดงออกทั้งยัง
ช่วยเทคนิคการสมานกันระหว่างเหตุการณ์ของภาพ การจัดการทางด้านเทคนิคสี การจัดการภาพผ่านเทคนิค
ขัดสีออกไป การใช้คอมพิวเตอร์อนิเมชั่น รวมทั้งการให้ขบวนกรของภาพนั้นเข้ากันได้กับระบบเสียงอิเล็คโทรนิค
สมัยใหม่ โดยภาษาภาพอิเล็คโทรนิคได้จัดวางได้อย่างใกล้เคียงกับภาษาของภาพยนตร์เป็นอย่างมากยิ่งขึ้น

วันนี้ศิลปะวีดีโอ อาร์ตเป็นสิ่งที่เราเชื่อได้แล้วว่ามันอยู่ในโลกของศิลปะ และตลาดศิลปะ แต่ไม่แค่นั้นมันยังเข้า
ไปสู่ตลาดภาพยนตร์ ตลาดของโลกธุรกิจบันเทิง โฆษณา และการออกแบบแฟชั่น เดี๋ยวนี้เราจำต้องกลับมา
คิดถึงคุณค่า ความยากลำบาก และความเอาจริงเอาจังของยุคก่อนหน้าและต่อๆ ไปสู่อนาคตดังเช่นการแสดง
ศิลปะอันมากมายที่เราได้เห็นกันอยู่

ดำเนินงานโดยฝ่ายนิทรรศการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ ณัฐณรัณ บัวลอย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายนิทรรศการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02-214-6630-8 ต่อ 533
email: [email protected]

bacc exhibition : international

ใกล้ ไ ก ล สัมพัทธ์ นิทรรศการศิลปะ ระยะทาง และความสัมพัทธ์
โดยฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ร่วมกับ inSPIRACJE International Visual Art Festival '13 MUZ'
29 มิถุนายน - 7 กันยายน 2557
จัดแสดง : หอศิลป Szczecin, ประเทศโปแลนด์

นิทรรศการ ‘Proximity: ใกล้ ไ ก ล สัมพัทธ์’ นำเสนอผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทยและโปแลนด์
โดยโครงการนี้เริ่มขึ้นจากการจุดร่วมระหว่างภัณฑารักษ์ไทยและโปแลนด์ในการพัฒนาความคิด แต่แยก
การนำเสนอผลงาน โดยผลงานศิลปินไทยจะนำเสนอที่โปแลนด์ในปี 2557 และผลงานของศิลปินโปแลนด์
นำเสนอที่ประเทศไทยในปี 2558 ในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ระหว่างโปแลนด์และไทย นิทรรศการมี
จุดมุ่งหมายในการนำเสนอความเข้มข้น ทั้งในเนื้อหาและประสบการณ์การรับรู้ที่ก้าวข้ามประเด็นพื้นผิว
ในความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นในมุมของภูมิศาสตร์ สังคม ประวัติศาสตร์ หรือศาสนาที่เป็นดัชนีบ่งบอก
ความแตกต่างระหว่าง ‘เราและเขา’ ‘Proximity: ใกล้ ไ ก ล สัมพัทธ์’ นำเสนอมุมมองในอีกรูปแบบผ่าน
ผลงานศิลปะในต่างพื้นที่ และต่างเวลา ด้วยรายละเอียดและเรื่องราวที่ไม่ธรรมดา สื่อสารประเด็นที่ซับซ้อน
แต่ในขณะเดียวกันกว้างขวางและสากล เพื่อเข้าถึงการแปล ความและการทำความเข้าใจที่ไม่ได้จำกัด
อยู่กรอบของพื้นที่ โครงการนี้เริ่มต้นด้วยการนำเสนอผลงานของ ศิลปินไทย 9 คนที่ National Museum
ในเมือง Szczecin ประเทศโปแลนด์ในเดือนมิถุนายนนี้โดยรูปแบบของงานในครั้งนี้เป็นทั้งศิลปะการจัดวาง
วิดีโอ ภาพถ่าย และผลงานศิลปะทางด้านเสียง

ภัณฑารักษ์:

พิชญา ศุภวานิช (ไทย)
บาร์เท็ค โอท็อคก์ (โปแลนด์)

ศิลปิน (ไทย) :
อานนท์ นงค์เยาว์/ กวิตา วัฒนะชยังกูร/ แพน แพน นาคประเสริฐ/ ปฐมพล เทศประทีป/
ปรีชญา ศิริพานิช/ ไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์/ ตุลย์ สุวรรณกิจ/ อุกฤษณ์ สงวนให้/ วิริยะ โชติปัญญาวิสุทธิ์

ศิลปิน (โปแลนด์):
อดัม วิทคาวสกี/ อกาธา บีเอลสกา/ อาเธอร์ มาลูวสกี/ ฟรานซิสค์ ออลอวสกี/ เกรคกอร์ส โดรซส์/
พอลลิน่า ซาดาวสกา/ พาวเวล์ คูลา/ พิออท สกีบา/โทมัส โคแซค

ดำเนินงานโดยฝ่ายนิทรรศการ
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ร่วมกับ inSPIRACJE International Visual Art Festival '13 MUZ'
สอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
ฝ่ายนิทรรศการ [email protected] โทร 02 214 6630

โปแลนด์ :
plac Zolnierza Polskiego 2
70-551 Szczecin, Poland
www.13muz.eu
tel. +48 91 43 47 173
fax. +48 91 43 37 987

People’s Gallery

ธิดาผ้าซิ่น
โดย ไพศาล สิงธรรม
6 - 29 สิงหาคม 2557
People's Gallery P1-P2 ชั้น 2 artHUB@bacc

วัฒนธรรมอีสาน มีความงดงาม และเรียบง่าย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายล้วนถูกออกแบบได้วิจิตรบรรจง สาวอีสานนุ่งผ้าซิ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงที่มาของพื้นถิ่น กิริยาอันอ่อนหวานเป็นอีกหนึ่งความงาม
ที่เราสัมผัสได้ไม่ยาก ความงามเหล่านี้ช่างงดงามยิ่งนัก มันบ่งบอกถึงความพอดี ไม่ประดิษฐ์มากจนเกินไป
เป็นความประทับใจที่ไม่อาจลืมเลือนได้โดยง่ายเพราะมันฝังรากลึกอยู่ในสายเลือดลูกหลานอีสาน

ผลงานจิตรกรรมชุด “ธิดาผ้าซิ่น” นี้กำลังเล่าเรื่อง “ความงามที่เรียบง่าย” ผ่านภาษาทางศิลปะ อากัปกิริยา
ของหญิงสาวที่นุ่งห่มเครื่องแต่งกายพื้นถิ่น โดยเฉพาะ “ผ้าซิ่น” ผ้าทอมือที่สวยงามวิจิตรบรรจงผ่านกระบวน-
การมากมายกว่าจะได้มาซึ่งผ้าให้สวมใส่ แต่ทว่านำเสนอโดยการสวมใส่ที่เรียบง่าย

ผลงานงานจิตรกรรมชุดนี้ จึงเป็นภาพสะท้อนความงาม ที่เกิดจากความพอดี ทั้งยังพยายามให้เห็นถึง
ความสำคัญชองชีวิตชนบทที่มีความพอเพียง ไม่อยากได้เกินความจำเป็น หญิงสาวในภาพจิตรกรรมเหล่านี้
จึงเป็นภาพตัวแทน ให้เราหันกลับไปมองวัฒนธรรมที่งดงาม ไม่ใช้เพียงอิสาน แต่เป็นวัฒนธรรมพื้นถิ่นทั่วไป
และหวังกระตุ้นให้เราหันกลับมามอง ให้เห็นถึง “ความสุขที่ยั่งยืน และเรียบง่าย” เพราะเราต่างก็ปรารถนา
ความสุข แต่เราอาจลืมไปว่ามันเริ่มต้นจากความเรียบง่าย ภายในตัวเรานี้เอง

เครื่องรางในรถแท็กซี่ไทย
ภาพถ่ายโดย เดล คอนสแตนซ์
1 - 29 สิงหาคม 2557
People's Gallery P3 ชั้น 2 artHUB@bacc

นิทรรศการเครื่องรางในรถแท็กซี่ไทย เป็นนิทรรศการภาพถ่ายโดยศิลปิน/ช่างภาพ เดล คอนสแตนซ์
(Dale Konstanz) ซึ่งเป็นภาพถ่ายภายในรถแท็กซี่ในกรุงเทพฯ ในช่วงแปดปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็น
ถึงการประดับประดาในรถแท็กซี่ที่อัดแน่นด้วยเครื่องนำโชค ภาพนิ่ง รูปเคารพทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์และ
เครื่องประดับสมัยใหม่ตัวเล็กตัวน้อยที่วางเต็มแผงหน้าปัด ห้อยจากกระจกมองหลัง รวมทั้งติดไว้บน
เพดานรถ รูปบูชาและเครื่องประดับในรูปแบบต่าง ๆสิ่งของเหล่านี้มีทั้งที่เป็นเครื่องรางคุ้มครองความ
ปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสาร ใช้เป็นเครื่องนำโชคเพื่อให้เงินทองไหลมารวมทั้งสร้างความเพลิดเพลิน
สนุกสนานแก่คนขับแท็กซี่ด้วย

ภาพถ่ายของคอนสแตนซ์ (Dale Konstanz) เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมแบบไทย ๆ ในบริบทร่วมสมัย
ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยเองหรือนักท่องเที่ยวคุ้นเคย จนกระทั่งอาจจะมองข้าม
หรือไม่ใส่ใจกับมัน ผลงานนี้ตั้งใจที่จะให้ผู้ชมได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้ และหวังว่าคงจะกลับไปด้วยความสุข
และความชื่นชมต่อวัฒนธรรมไทยมากขึ้น

performance

bacc performing arts

เทศกาลศิลปะการแสดง ครั้งที่ 3
(P.A.F. : Performative Art Festival # 3)

โดย ฝ่ายกิจกรรม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
กรกฎาคม - ธันวาคม 2557
ห้องสตูดิโอ ชั้น 4, ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 และห้องออดิทอเรียม ชั้น 5

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครร่วมกับกลุ่มศิลปินสาขาศิลปะการแสดงร่วมกันจัดงานเทศกาลศิลปะการแสดงครั้งยิ่งใหญ่ เทศกาลศิลปะการแสดง
ครั้งที่ 3 หรือ P.A.F. : Performative Art Festival # 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2557 ที่ห้องสตูดิโอ ห้องอเนกประสงค์ และห้องออดิทอเรียม หอศิลปกรุงเทพฯ สี่แยกปทุมวัน โดยในปี 2557นี้นับเป็นปีที่สามที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครร่วมมือกับเครือข่ายทางด้านศิลปะการแสดง
ในการร่วมกันจัดเทศกาลศิลปะการแสดงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นอีกพื้นทีในการเผยแพร่งานศิลปะการแสดง และเป็นสื่อกลางระหว่างศิลปินผู้สร้างสรรค์
ผลงานและประชาชนให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิด เพื่อให้สังคมเกิดพลวัตรอย่างสร้างสรรค์

ซึ่งภายใต้เทศกาลฯ ในครั้งนี้การแสดงจะมีความหลากหลายจากศิลปินชาวไทยและต่างชาติ และนอกเหนือจากการแสดงทั้งละครเวที ละครร้อง ศิลปะ
การแสดงสด และศิลปะการเต้นแล้วนั้น ยังประกอบด้วยการเสวนาโดยศิลปิน และการอบรมเชิงปฎิบัติการด้านศิลปะการแสดงสด ศิลปะการเต้น และบูโต
อีกด้วย โดยตลอดเทศกาลฯ ผู้ชมจะได้รับชมการแสดงจากคณะศิลปินหลายกลุ่มที่มีรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย ทั้งนี้เทศกาลฯ
จะประกอบไปด้วย

1. โครงการ “Connecting ASEAN Plus” 2014 : วันที่ 18 – 27 กรกฎาคม 2557
2. เงา - ร่าง (Shade Borders) วันที่ 15 - 17 สิงหาคม 2557
3. ละครร้อง ศรีบูรพา บันทึกแห่งอิสรา : วันที่ 28 – 31 สิงหาคม 2557
4. สนทนาและฝึกปฏิบัติการศิลปะแสดงสดกับแรนดี้ เกรดฮิลล์  : วันที่ 3 – 6 กันยายน 2557
5. ละครเวที เพลงรัก 2475 : วันที่ 18 กันยายน - 5 ตุลาคม 2557
6. Hipster the King  : วันที่ 10 – 12 ตุลาคม 2557
7. เทศกาลศิลปะแสดงสดนานาชาติเอเชียโทเปียครั้งที่ 16 / 2014 : วันที่ 28 ตุลาคม -3 พฤศจิกายน 2557
8. เทศกาลละครกรุงเทพ 2557 : วันที่ 1-16 พฤศจิกายน 2557
9. มหกรรมการเต้นนานาชาติ 2014 : วันที่ 21 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2557
10.THE 9th INTERNATIONAL BUTOH FESTIVAL THAILAND 2014 : วันที่ 4-21 December 2014

เทศกาลศิลปะการแสดง ครั้งที่ 3 นี้ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายด้านการแสดง อาทิ มูลนิธิเพื่อนศิลปะ พระจันทร์เสี้ยวการละคร นิตยสารไรท์เตอร์ กลุ่มศิลปินเอเชียโทเปีย เดโมเครซี่สตูดิโอ เครือข่ายละครกรุงเทพ กลุ่มละคร B-Floor และกลุ่ม Butoh Co-Op ประเทศไทยที่จะมาร่วมสร้างสรรค์
พื้นที่ทางศิลปะการแสดงให้สมบูรณ์ขึ้นที่หอศิลปกรุงเทพฯ เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้จากศิลปินมาสู่ผู้ชม ผู้ที่สนใจ
เข้าชมการแสดงสามารถติดตามรายละเอียดต่าง ๆ อาทิตารางการแสดง (วันที่และเวลา) รวมทั้งราคาบัตรได้ที่ www.bacc.or.th และ Facebook:
www.facebook.com/baccpage

สอบถามเพิ่มเติม ฝ่ายกิจกรรม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02 2146630-8 ต่อฝ่ายกิจกรรม 530
โทรสาร 02 2146639
อีเมล์ : [email protected]
www.bacc.or.th
baccpage


เงา - ร่าง
15-17 สิงหาคม 2557
(วันศุกร์ รอบเวลา 19.00 น. / เสาร์-อาทิตย์ รอบเวลา 15.00 น. และ19.00 น.)
ห้องสตูดิโอ ชั้น 4

ผู้หญิง ร่างกาย นม

"เสียงสะท้อนจากร่างกาย ร่อง รอย บาดแผล ที่มีอยู่กับความรู้สึกและการเดินทางภายในใจ"

“เงา-ร่าง” เป็นการแสดงในรูปแบบ movement performance ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะ
ร่วมสมัยของ พินรี สัณฑ์พิทักษ์ศิลปินหญิงร่วมสมัยของไทยที่ผลงานมีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่าง-
ประเทศ โดยเป็นผลงานทัศนศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ของสรีระร่างกายความเป็นหญิงและการก้าวข้ามผ่าน
ขอบเขตเรื่องเพศ

"เงา-ร่าง" สร้างงานจากกระบวนการ devising theatre ในชื่อนมโปรเจคจนกลายมาเป็น เงา-ร่าง
ด้วยการเริ่มต้นเดินทางจากพื้นผิวสู่การเดินทางสู่ความรู้สึกภายในใจ เปิดเรื่องราวเปิดความรู้สึกและ
ภาพพจน์สู่การเคลื่อนไหวภายนอก ที่ส่องสะท้อนกลับไปกลับมาของความทรงจำที่มีทั้งความอ่อนไหว
เข้มแข็ง เศร้า ตลก และการดำรงอยู่ของร่างกายผู้หญิง

นักแสดง
กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์
ลัดดา คงเดช
สุกัญญา เพี้ยนศรี
อรดา ลีลานุช
สินีนาฏ เกษประไพ

กำกับการแสดง: สินีนาฏ เกษประไพ พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ออกแบบแสง: ทวิทธิ์ เกษประไพ

ราคาบัตร: 500 บาท
สำรองบัตรได้ที่: โทร 081-929-4246, 086-797-1445
crescentmoontheatre


ละครร้อง ศรีบูรพา บันทึกแห่งอิสรา
28 – 31 สิงหาคม 2557
(วันพฤหัสบดี และ วันศุกร์ รอบเวลา 19.30 น. / วันเสาร์ รอบเวลา 14.00 น. และ 19.00 น. / วันอาทิตย์รอบ เวลา 14.00 น.)
ห้องสตูดิโอ ชั้น 4

ปี 2557 ครบรอบ 40 ปี การจากไปของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ สำนักพิมพ์ Writer ร่วมกับคณะละคร ‘อนัตตา’ สนับสนุนโดยสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และ สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกันจัดการแสดงละครร้องเรื่อง ‘บันทึกอิสรา’ ขึ้นอีกครั้ง ในชื่อ ‘ศรีบูรพา
บันทึกแห่งอิสรา’

ละครร้อง ศรีบูรพา บันทึกแห่งอิสรา เกิดขึ้นเพื่อทำให้สังคมของเราเต็มไปด้วยบรรยากาศของการอ่าน
และการเขียนด้วยการยืนยันในคุณค่าของงานเขียน และนักเขียนผู้มีคุณูปการต่อวงการวรรณกรรม
นักเขียนผู้เป็นแบบอย่าง เป็นต้นธารของรสนิยมแห่งการอ่านและการเขียนอันทรงคุณค่า

โดย ประดิษฐ ประสาททอง ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง คนแรกของประเทศไทย ผู้ผลักดันการละครในประเทศไทยอย่างเต็มตัว อย่าง ‘เครือข่ายละครกรุงเทพฯ’ และมี ‘เทศกาลละคร
กรุงเทพฯ’ อย่างต่อเนื่องทุกปี พร้อมกับการทำคณะละครอนัตตา ซึ่งเป็นคณะละครที่เป็นที่ผู้จักอย่าง
กว้างขวางและได้รับการยอมรับอย่างสูง ในหมู่คนละครและผู้ชมละครทั่วประเทศ รวมถึงเป็นที่รู้จักใน
ระดับนานาชาติ

ละครศรีบูรพา เป็นละครว่าด้วยชีวิตของนักเขียนซึ่งเป็นต้นแบบของนักคิด นักสร้างสรรค์ นักเขียน และคนทำสื่อยุคบุกเบิกในเมืองไทย

ละครร้องเคยจัดแสดงครั้งแรกในวาระ100 ปีชาตะกาล กุหลาบ สายประดิษฐ์ ณ หอประชุมศรีบูรพา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อปี 2548 โดยใช้ชื่อเรื่องว่า ‘อิสราชน’ ต่อมาแสดงใน
เทศกาลละครกรุงเทพปี 2551 ที่มะขามป้อมสตูดิโอ สะพานควาย โดยเปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น ‘บันทึกอิสรา’
และปรับบทละครให้เล่าเรื่องผ่านสมุดบันทึกและมุมมองของ ชนิด สายประดิษฐ์ ภรรยาของศรีบูรพา

"วันเสาร์ที่ 17 มกราคม 2485 ขณะตื่นนอนอากาศยังขมุกขมัว ต้องเปิดไฟขณะดูหนังสือ ลงมือไปได้
ประมาณ 5 นาที ได้ยินเสียงคนร้องเรียกมาจากภายนอกว่า คุณกุหลาบครับ คุณกุหลาบครับ คุณกุหลาบ
อยู่ไหมครับ เปิดประตูกระจกที่ระเบียงข้างบน ชะโงกหน้าออกไปดู แลเห็นตำรวจยืนเรียงรายอยู่หน้า บ้าน
หลายคน แต่ก็ไม่สู้ตื่นเต้นตกใจเท่าใดนักเป็นแต่นึกว่า ครั้งนี้เห็นจะประสบเคราะห์ร้ายที่รุนแรงนักก็เป็นได้
เวลาบ่ายสองโมง เจ้าหน้าที่ได้เปิดประตูห้องขังให้เรา เมื่อเราเข้าไปอยู่ภายในและได้ยินเสียงเขาลั่นกุญแจ
ดังแกร๊ก เราก็รู้สึกว่า อิสรภาพของเราได้ถูกริบไปเสียแล้ว แต่เราโต้แย้งอยู่ในใจว่า ไม่เป็นไรดอก อิสรภาพ
ทางใจของเรายังมีอยู่อย่างสมบูรณ์"

หลังจากวันนั้น กุหลาบ สายประดิษฐ์ ก็ถูกจับอีกครั้งในข้อหา ‘กบฏสันติภาพ’ และละครร้องเรื่อง ‘ศรีบูรพา
บันทึกแห่งอิสรา’ ก็เริ่มเรื่องตรงนี้ ในปี 2495 ไปจนถึงเมื่อเขาออกจากคุกในปี 2500 ตลอดเวลาที่ถูกคุม
ขัง ต้นฉบับงานเขียนของเขาไม่เคยติดคุกไปด้วย งานได้ตีพิมพ์เผยแพร่จัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ด้วยความช่วยเหลือ อย่างลับๆ ของชนิด สายประดิษฐ์บทละครจะพาผู้ชมย้อนเวลาไปในชีวิตศรีบูรพา
หลายเหตุการณ์ รวมทั้งบันทึกหน้าสุดท้ายที่เขียนต่อเติมโดยชนิด หลังจากกุหลาบเสียชีวิตไปแล้ว

ประดิษฐ์ ประสาททองหยิบละครเรื่องนี้มาทำใหม่อีกครั้งโดยปรับปรุงแต่งเติมต่อยอดจากประสบการณ์เดิม
ให้มาสมบูรณ์ที่สุดใน ‘ศรี บูรพา บันทึกแห่งอิสรา’ เวอร์ชั่น 2557 ประดิษฐจงใจนำเสนอละครเรื่องนี้ด้วย
ภาษาสละสลวยงดงามและแฝงด้วยแนวคิดลุ่ม ลึกซับซ้อน เช่นเดียวกับงานของ กุหลาบ สายประดิษฐ์
ในรูปแบบละครร้อง ที่ต้องอาศัยบทขับร้องที่สร้างขึ้นด้วยภาษาประณีตสื่อผ่านทำนองเพลงไพเราะกินใจ
มากกว่าการปลุกเร้าทางอารมณ์ ทำนองเพลงส่วนใหญ่ที่ใช้ในบทละครเป็นทำนองที่แต่งขึ้น เพื่อใช้แสดง
ละครร้อง ในยุคสยามหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง อันถ่ายทอดมาจาก แม่ครูสุดจิต ดุริยประณีต ศิลปิน
แห่งชาติ ซึ่งถ่ายทอดมาจากคณะละครร้องย่านบางลำพูอีกทอดหนึ่ง ทำนองเพลงจึงมีความร่วมสมัย
กับเหตุการณ์ในท้องเรื่อง พร้อมด้วยดนตรีแสดงสดทุกรอบการแสดงจากเครื่องสากลผสมดนตรีไทย
เรียบเรียงเสียงประสานโดย คานธี วสุวิชย์กิต หนึ่งในผู้สร้างสรรค์ดนตรีเพื่อการแสดงคุณภาพจำนวนมาก
ของไทย
ในขณะนี้

นักแสดงนำ: กุหลาบ สายประดิษฐ์: คานธี วสุวิชย์กิต, นักแสดงละครเวที
และผู้สร้างสรรค์ดนตรีเพื่อการแสดง
ชนิด สายประดิษฐ์: มนทกานติ รังสิพราหมณกุล, บรรณาธิการนิตยสาร Madam Figaro, พิธีกรรายการ
Deva Café และนักแสดงละครเวทีอิสระ
บท/กำกับการแสดง: ประดิษฐ ประสาททอง, คณะละครอนัตตา
ดนตรี: คานธี วสุวิชย์กิต

ราคาบัตร: 600 บาท
สำรองบัตรได้ที่: โทร 092-257-0667
Sriburapha.Isara

education


bacc education

เอเชียโทเปีย ทอล์ค 2557 ครั้งที่ 1 หัวข้อ:
ศิลปะแสดงสดในประเทศไทยศึกษาพัฒนาการและ
ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ กับศิลปินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

โดย จุมพล อภิสุข และ นพวรรณ สิริเวชกุล
โดย ฝ่ายการศึกษา หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
พฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00-16.00น.
ห้อง Friends of bacc ชั้น 6

เอเชียโทเปียร่วมกับหอศิลปกรุงเทพฯ ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม เสวนา เอเชียโทเปีย
กิจกรรมที่สืบเนื่องมาจากเทศการศิลปะแสดงสดนานาชาติเอเชียโทเปีย เพื่อสร้างความเข้าใจ
ความเป็นมาในประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของศิลปะแสดงสดทั้งในและต่างประเทศแก่นักเรียน
ส่วนหนึ่งของโครงการจัดทำหนังสือศิลปะแสดงสดในไทย และเอเชียตะวันออกเชียงใต้

สำหรับวันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2557 พบกับการเสวนา เอเชียโทเปีย ครั้งที่ 1 ในหัวข้อศิลปะ
แสดงสดในประเทศไทย ศึกษาพัฒนาการ และ ความเชื่อมโย่งสัมพันธ์กับศิลปินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
โดยมี จุมพล อภิสุข และ นพวรรณ สิริเวชกุล เป็นผู้ดำเนินการบรรยาย

ขบวนการศิลปะแสดงสดในเอเชียอาคเนย์ และประเทศไทยในทศวรรษ 80 เป็นการเสวนาครั้งที่ 1 ของ
การศึกษาพัฒนาการศิลปะแสดงสดในประเทศไทย โดย จุมพล อภิสุข ที่เป็นหนึ่งในผู้เปิดประตูกรุงเทพสู่
ศิลปะการแสดงสด ในราวปี พ.ศ.2529 (ค.ศ.1986) ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้นสิงคโปร์ก็เริ่มหมู่บ้านศิลปิน
และศิลปะการแสดงสดของอินโดนีเซียก็มีการแสดงออกทางศิลปะแบบใหม่ที่มาแรงในขณะนั้น ทำนอง
เดียวกันกับในฟิลิปินส์ จุมพล แสดงความเห็นว่าเราไม่อาจทำความเข้าใจกับศิลปะแสดงสดในประเทศไทย
อย่างโดดเดี่ยวได้ โดยไม่พยายามทำความเข้าใจกับผลสะเทือนที่มีต่อภูมิภาค ซึ่งส่งผลให้เกิดเครือข่าย
ศิลปินแสดงสดที่เข้มแข็งใน เอเชียอาคเนย์ในเวลาต่อมา

ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม / ไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า
*บรรยายเป็นภาษาไทย ไม่มีการแปล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายการศึกษา โทร 02-214-6630-8 ต่อ 519
email: [email protected]
www.bacc.or.th
ASIATOPIA International Performance Art Festival,
baccpage

bacc library

กิจกรรม “นิทานคุณหนูและศิลปะประดิษฐ์”
เชิญพบกับนิทานอาเซียนเรื่อง “จิ้งจอกตาลายกับกระต่ายเจ้าปัญญา”
โดยห้องสมุดศิลปะ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00-15.30 น.
โถงชั้น L

จิ้งจอกตัวหนึ่งหิวจนตาลาย เดินมาเจอหนองน้ำที่แห้งขอด เห็นปูปลาจึงคิดจะจับกิน แต่ปูปลา
บอกว่า ตอนนี้ตัวเต็มไปด้วยโคลน ให้พาไปล้างตัวที่บ่อน้ำใหญ่เสียก่อน แต่กลับเสียท่าเหล่าปู
ปลา เพราะเมื่อถึงบ่อน้ำใหญ่ก็พากันลงน้ำกันอย่างสบายใจ จิ้งจอกโกรธมากจึงไปบอกสัตว์ต่างๆ
ให้มาช่วยกันวิดน้ำออกให้หมด ปลาจึงไปขอความช่วยเหลือจากกระต่าย กระต่ายจะช่วยปู และ
ปลาอย่างไร ติดตามนิทานเรื่องนี้ได้ตามวันและเวลาดังกล่าว

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม และพบกับโบโซ่ลูกโป่งแฟนซี เวลา 13.30 น.
ลงทะเบียนกิจกรรมและสอบถามเพิ่มเติม โทร. 02 214 6630-8 ต่อ 126, 127
(อังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.)

กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนสัญจร DIY Bookmaking Workshop
โดย ฝ่ายการศึกษาและห้องสมุดศิลปะ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
อาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม 2557 เวลา 13.00-17.00 น.
ศูนย์การเรียนรู้สำหรับครอบครัว ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

ขอเชิญเยาวชน อายุ 10-15 ปี จำนวน 20 คน ร่วมเรียนรู้วิธีการเย็บสมุดในรูปแบบแปลกตาละลานใจ
ในกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนสัญจร DIY Bookmaking Workshop ตามวันและเวลาข้างต้น

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม ลงทะเบียนกิจกรรมได้ที่ 02 214 6630-8 ต่อ 126, 127
(อังคาร-อาทิตย์: 10.00-18.00 น.)

artHUB@bacc

ART CAFÉ by Brown Sugar
ชั้น 1

ART CAFÉ by Brown Sugar อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการนั่งทานอาหารอร่อย ๆ ในบรรยากาศสบายๆ
พร้อมเมนูแนะนำอย่างพิซซ่าสไตล์อิตาเลียนและสปาเก็ตตี้หลากหลายรสชาติ

ร้านเลอ ปลาแดก
ชั้น 4

“เลอ ปลาแดก” เป็นคำประสมของ 2 ภาษา คำว่า “เลอ” (Le) เป็นภาษาฝรั่งเศส หมายถึงเพศชาย ส่วน
“ปลาแดก” (Pla Daak) เป็นภาษาอีสาน หมายถึง “ปลาร้า” เมื่อนำมาประสมกัน จึงเกิดเป็น “Le Pla Daak”
หรือ “ปลาร้าตัวผู้” “เลอ ปลาแดก” in the city @BACC (Bangkok Art and Culture Centre – หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร) จึงถือกำเนิดขึ้นเพี่อรองรับวิถีชีวิตของชาวเมืองในรูปแบบ “อีสาน
ฟาสต์ฟู้ด” ที่ผสมกลิ่นอายฝรั่งเศส แต่ยังคงคุณค่า “ความอร่อย” ในรูปแบบการปรุงแบบรสชาติดั้งเดิม
หม้อต่อหม้อ จานต่อจาน ครกต่อครกเหมือนเดิม เรานั้นยังใส่ใจและดูแลคุณภาพของอาหาร รวมถึง
สิ่งสำคัญที่สุดต่อสุขภาพคือ เราไม่ใส่ “ผงชูรส”

Upcomings in September

bacc exhibition

อินสนธิ์ วงศ์สาม : จิตวิญญาณอิสระ
จัดโดย ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
12 กันยายน - 27 พฤศจิกายน 2557
ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9
พิธีเปิดนิทรรศการ 11 กันยายน 2557 เวลา 18:30 น.

เป็นระยะเวลากว่า 50 ปี ที่ อินสนธิ์ วงศ์สาม ศิลปินอาวุโสวัย 80 ปีจากจังหวัดลำพูนได้ทุ่มเทและพิสูจน์
ให้เห็นถึงความศรัทธาและการยืนหยัดของศิลปินในฐานะผู้สร้างสรรค์ งานศิลปะนามธรรมตามคติแบบ
ตะวันออกมาอย่างยาวนาน โดยไม่เคยหวนกลับไปสร้างสรรค์งานแบบเหมือนจริงอีกเลย ในวัย 28 ปี
ศิลปินหนุ่มล้านนานักผจญภัยขี่รถสกู๊ตเตอร์คู่ใจจากประเทศไทย สู่จุดหมายอันยาวไกลในทวีปยุโรป
เพื่อแสวงหาประสบการณ์ทางศิลปะ การแสดงงานและการพบปะศิลปินนักวิจารณ์ต่างวัฒนธรรมขับเคลื่อน
ให้ประติมากรไทยผู้มีไฟสร้างสรรค์สามารถพัฒนาผลงานของตนสู่งานแบบนามธรรมในระดับสากลได้
เมื่อเดินทางกลับมายังบ้านเกิด ศิลปินอิสระผู้มุ่งมั่นไม่ได้นำสิ่งใดติดตัวกลับมาด้วยนอกจากประสบการณ์
ด้านศิลปะจากต่างแดนร่วม 12 ปี เต็ม ด้วยจิตวิญญาณแห่งนักสร้างสรรค์ผู้แสวงหาและการได้กลับมาพบ
อินสนธิ์ วงศ์สาม ได้ผูกโยงวิถีวัฒนธรรมพื้นถิ่นทางภาคเหนือเข้ากับศิลปะนามธรรมได้อย่างกลมกลืน

นิทรรศการ “อินสนธิ์ วงศ์สาม : จิตวิญญาณอิสระ” จัดแสดงผลงานประติมากรรม (2517- ปัจจุบัน)
ภาพพิมพ์แกะไม้ (2542-ปัจจุบัน) และงานจิตรกรรมชุดใหม่ (2556-ปัจจุบัน) ของ อินสนธิ์ วงศ์สาม
ร่วมร้อยชิ้นผลงานมักถ่ายทอดลักษณะพิเศษหลายอย่างที่ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับความล้ำลึกจาก
จิตใจภายในของ มนุษย์ รวมถึงศิลปกรรมชิ้นสำคัญอื่นๆ เช่น ประติมากรรมไม้ชุดห้วยไฟ (2517-2520)
ที่สร้างสรรค์จากเศษซากตอไม้สักขนาดใหญ่ แสดงถึงการโหยหาความบริสุทธิ์ในสภาวะธรรมชาติ
ช่วยโน้มนำชุมชนให้ระลึกถึงต้นไม้และผืนป่าที่สูญเสีย ผลงานประติมากรรมโลหะจำลองขนาดเล็ก
ชุดใต้ทะเล (2511-2517) ที่แสดงถึงความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมและวิกฤติทางธรรมชาติ
ซึ่งผลงานบางส่วนจะได้รับการถ่ายทอดให้เป็นจินตภาพที่สมบูรณ์ในรูปแบบวิดีโออาร์ตโดยศิลปิน
ร่วมสมัย จิรศักดิ์ แสงพลสิทธิ์ และผลงานประติมากรรมถอดได้ (2540-ปัจจุบัน) ที่นำเศษไม้รูปทรง
แปลกมาประกอบกันด้วยวิธีการเข้าไม้สลักเดือย สามารถจับปรับขยับทิศทางรูปทรงได้ เป็นต้น

ศิลปินผู้เป็นต้นแบบของนักสร้างสรรค์ที่สามารถเชื่อมโยงคติ และวิถีวัฒนธรรมพื้นถิ่นให้สัมพันธ์กับ
ศิลปะนามธรรม ที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะตะวันตกอย่าง อินสนธิ์ วงค์สามนั้นเป็นบุคลิกพิเศษที่
จะปรากฏอยู่น้อยนักในปัจจุบัน เรื่องราวของท่านได้ให้แรงบันดาลใจกับศิลปินรุ่นใหม่ วชร กัณหา ในการสร้างงานภาพยนตร์เชิงสารคดีจากชีวิต การแสวงหา การฝึกตน การค้นพบตนเองของอินสนธิ์
วงศ์สาม ซึ่งได้ทิ้งร่องรอยไว้บนหน้าประวัติศาสตร์ ในวงการศิลปกรรมของไทย

ภัณฑารักษ์รับเชิญ
: ทักษิณา พิพิธกุล
ศิลปิน: จิรศักดิ์ แสงพลสิทธิ์ และ วชร กัณหา

ริเริ่มและดำเนินงานโดย ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ติดต่อสอบถาม: [email protected]


bacc education

“ชีวิตแห่งเจตจำนง (Life Specific ) : คามิน เลิศชัยประเสริฐ”
Life Specific : Kamin Lertchaiprasert
โดย ฝ่ายการศึกษา หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2557 เวลา 14.00-16.00 น.
ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ขอเชิญผู้ที่สนใจและรักในงานศิลปะทุกท่าน เข้าร่วมกิจกรรม
BACC Art Talk 2014 ชุด สุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์ (Relational Aesthetic) ที่หวังสร้างความรู้
ความเข้าใจในงานศิลปะร่วมสมัย ด้วยการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ผ่านการพูดคุยกับศิลปิน ภัณฑารักษ์
นักวิชาการและผู้รู้ด้านศิลปะต่างๆ

กิจกรรมครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2557 นี้จะเป็นการสนทนากับ คามิน เลิศชัยประเสริฐ ในแง่มุม
ของศิลปะและชีวิตที่หลอมรวมจนเกิดเป็นวิถีในการดำเนินชีวิต กระบวนการค้นหาความสุขอันนำไปสู่การ
ตระหนักรู้ตนเองและสังคม รวมทั้งการใช้ศิลปะเป็นกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจ
และเคารพในคุณค่า เอกลักษณ์ของตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะส่งให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข

คามิน เลิศชัยประเสริฐ เป็นศิลปินผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่ 31 (31th
Century Museum Contemporary of Spirit) และมูลนิธิที่นา เพื่อส่งเสริมให้คนทั่วไปเรียนรู้จิต
วิญญาณและพัฒนาจิตใจ เขามีแนวทางในการสร้างสรรค์งานศิลปะจากแรงบัลดาลใจ “การหาคำตอบ
และความหมายของชีวิต” เป็นการตั้งคำถามและเกิดความสงสัย จึงก่อให้เกิดการทดลอง เพื่อแสวงหา
ความหมายของสิ่งเหล่านั้น และถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านงานศิลปะ ด้วยวิธีการร่วมสมัยไม่ยึดติดกับ
รูปแบบ จึงทำให้เขามีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ

เสวนาโดย: คามิน เลิศชัยประเสริฐ

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม
บรรยายเป็นภาษาไทย (ไม่มีการแปล)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งได้ที่
ฝ่ายการศึกษา โทร. 02 214 6630 - 8 ต่อ 519
อีเมล์ : [email protected]
www.bacc.or.th
baccpage


bacc cinema

เทศกาลภาพยนตร์คัดสรร “Cinema Diverse: Director's Choice”
โดย ฝ่ายกิจกรรม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เสาร์ที่ 20 กันยายน 2557 เวลา 16.30 – 21.00 น.
ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5

ร่วมชม 5 ภาพยนตร์ที่คัดเลือกโดย 5 ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย สำหรับเสาร์ที่ 20 กันยายน 2557 พบกับภาพยนตร์จากประเทศญี่ปุ่น Himizu (2011) คัดสรรโดยธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
(ไม่ได้ขอให้มารัก ฮักนะสารคาม และ Insects in the Backyard)

"Himizu ไม่ได้เล่าเหตุการณ์ภายหลังสึนามิ หากแต่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นขณะกำลังเกิดสึนามิต่างหาก
เพราะในขณะที่ดู เราจะรู้สึกราวกับโดนพายุซัดจนจมดิ่งลงไปที่ก้นบึ้ง อึดอัดแทบไม่มีอากาศหายใจ
เหมือนจะเกือบตายเลยทีเดียว" ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์

Himizu กำกับโดย โซโนะ ซิออน (Love Exposure, Noriko’s Dinner Table และ Cold Fish)ผู้กำกับ
ที่มักจะนำเสนอเรื่องราวสะเทือนขวัญ ความรุนแรง และด้านมืดของมนุษย์ Himizu ดัดแปลงจากการ์ตูน
ชื่อดัง เล่าเรื่องราวที่ดูไร้ทางออกของยูอิจิ เด็กหนุ่มวัย 14 ปี ผู้ฝันอยากใช้ชีวิตอย่างคนธรรมดา แต่กลับ
พบกับชะตากรรมที่บีบคั้นจนทำสิ่งที่เลวร้ายลงไป เคย์โกะ เพื่อนร่วมชั้นหลงรักเขา และพยายามทำทุก
อย่างเพื่อยูอิจิ เด็กหนุ่มและเด็กสาวที่มีบาดแผลในใจถูกลิขิตให้มาพบกันปัญหาทั้งหมดนั้นเปรียบเสมือน
แรงกระเพื่อมใต้น้ำที่รอวัน ปะทุ Himizu ได้รับคำชมอย่างล้นหลาม และคว้ารางวัล Marecello Mastroianni นักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยมทั้งฝ่ายหญิงและชายจากเทศกาลภาพยนตร์เวนิซ 2011 ด้วย

ร่วมชม Himizu และพูดคุยกับ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ร่วมด้วย ซูซูกิ เรียวตะ นักเขียนชาวญี่ปุ่น
ผู้ตกหลุมรักประเทศไทย

*ฉายเป็นภาษาญี่ปุ่นและมีซับไตเติ้ลภาษาไทยเท่านั้น
*ภาพยนตร์เริ่มฉายเวลา 17.30 น. / ประตูจะปิดหลังจากภาพยนตร์เริ่มฉายแล้ว
*การพูดคุยหลังภาพยนตร์จะมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย
*ภาพยนตร์เรื่องนี้เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 02 214 6630-8 ต่อ 528 และอีเมล์ [email protected]
ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม
ไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

939 ถ.พระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 02 214 6630-8 โทรสาร. 02 214 6639

www.bacc.or.th
baccpage | baccnews | baccbangkok | baccchannel

สงวนลิขสิทธิ์ © หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร